การสร้าง Big Data Business Case
จากบทความที่แล้วเราคงพอเห็นภาพแล้วว่า Big Data คืออะไร และทำไมถึงมีความจำเป็นอย่างมากในการทำธุกิจในยุคสมัยนี้ การที่จะ Implement Big Data ให้เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้นก่อนที่จะเริ่ม เราจะต้องมีการเตรียม Business case เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากผู้บริหาร บอร์ด หรือนักลงทุน เพราะการ Implement Big Data นั้นจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนหนึ่ง และทรัพยากรในการพัฒนาด้วย และเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับ Culture ของการทำงานด้วย เพราะหากมี Big Data มีข้อมูลมากมาย แต่ไม่มีการนำไปวิเคราะห์ หา insight นำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ เรียกได้เลยว่าการลงทุนนั้นก็แทบจะไม่มีความหมายเลยทีเดียว
Benefit หรือ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาก Big Data
ส่วนที่ยากที่สุดในการพัฒนา Big Data กลับกลายเป็นว่าเรื่องที่ยากที่สุดกลับไม่ใช่เรื่อง Technology แต่เป็นการสร้าง Business Use-case เพื่อขออนุมัติจากทางผู้บริหาร เพราะไม่ว่าคุณจะเลือกทำเอง หรือจ้าง Vendor มาทำ ยังงัยก็แล้วแต่มันก็ต้องมีการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Technology หรือ คน รวมไปจนถึงหน้าตาของผลตอบแทนจากการลงทุนจะออกมาเป็นเช่นไร (ROI: Return of investment) เพราะฉะนั้นการเขียน Business use case เป็นด่านสำคัญ ด่านแรกที่คุณต้องเจอโดยปกติแล้ว ตามประสบการณ์ของผู้เขียน มีหลักๆ 3 มุมที่ Big Data สามารถเข้ามาช่วยธุรกิจได้ คือ
มีความเข้าใจลูกค้ามากขึ้น
Big Data สามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อให้บริษัทเข้าใจลูกค้าของพวกเขาได้ดีมากขึ้น สินค้าหรือบริการที่ลูกค้าชื่อชอบ พฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอย และความคิดเห็นต่างๆ บนโลก Social media ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการทำ data analytics และ Predict เพื่อสร้าง marketing campaign ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการปรับปรุงการบริการลูกค้า รวมไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมไปจนถึงการทำ personalized marketing
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น
อีก Use case ที่สามารถทำได้คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การจัดการสินค้าภายในคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า บางครั้งเราสามารถวิเคราะห์ Demand Forecast ว่าความต้องการของสินค้าตัวใดมีเพิ่มหรือลดในอนาคต ซึ่งการจัดการคลังสินค้าอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ทางบริษัทลดต้นทุนในการดำเนินการได้ดีขึ้น
การตัดสินใจที่ดีขึ้น
ในการวางแผนการทำกลยุทธของแต่ละองค์กรหากเรามีข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการขาย ข้อมูลของคู่แข่ง สิ่งเหล่านี้หากนำมาใช้ประกอบกับการวางแผนหรือตัดสินใจในการทำธุรกิจ ก็อาจจจะช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจในการวางแผนกลยุทธของธุรกิจได้
การคำนวณ ROI (Return of Investment)
หลังจากได้ข้อดีของการดำเนินการ Big Data แล้ว ขั้นต่อไปคือการคำนวณ ROI (Return of Investment) หรือประโยชน์ที่เราจะได้กลับมาจากการลงทุน Big Data ซึ่งโดยปกติแล้ว การคำนวณจุดคุ้มทุนในการลงทุน จะใช้ระยะเวลา 5 ปี หรือ 3 ปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท และองค์ประกอบที่เราควรที่จะต้องพิจารณามีดังต่อไปนี้
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Implementation Cost)
- External cost: หากเรา Implement Big Data ด้วยการใช้ Vendor เราจะต้องรู้ว่าในการพัฒนา Big Data นั้นใช้งบประมาณในการดำเนินการเท่าไหร่
- Internal cost: ค่าแรงของทรัพยากรภายในองค์กร เนื่องจากว่าเราจำเป็นจะต้องใช้คนภายในองค์การ ไม่ว่าจะเป็น การให้ Business requirement, การเรียนรู้การใช้งานระบบ
- Software/Hardware cost / Cloud Cost:
- อีกจุดที่ต้องพิจารณาคือ เราจะใช้ Big data infrastructure แบบไหน ซึ่งโดยหลักการจะมีสองวิธีใหญ่ ๆ คือ On premise และ On cloud โดยค่าใช้จ่ายในการใช้ งานแบบ On premise นั้นจะประกอบไปด้วย Software/Hardware และ Admin cost รวมไปจนถึงค่า Overhead ต่างๆ เช่น ค่าไฟ ค่าแอร์ ให้ครบด้วย แต่ในส่วนของ Cloud นั้น จะมีราคาที่ค่อนข้างชัดเจน และจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายหรือ Pay-per-use ไปได้เลย
- Business impact:
- ผลประโยชน์จากการนำ Big Data ไปใช้งาน ซึ่งสามารถคิดได้ทั้งในมุมเพิ่มยอดขาย เช่น การทำ Product recommendataion ช่วยให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น และคิดในมุมการลดต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น การลดต้นทุนในการเก็บสินค้าในคลังสินค้าได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าเป็นต้น
หากเราสามารถกำหนด Business impact แล้วนำมาหักลบกับ Cost ที่จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปี แล้วพบว่าสามารถช่วยให้ธุริกจเติบโตได้ ก็ถือว่าการลงทุนนั้นเหมาะสม เพื่อที่จำนำเสนอในการขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินการต่อไป
ตัวอย่างการคิด Business Impact
สรุป
การกำหนด Business Case สำหรับ Big Data เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนที่ต้องการวิเคราะห์อย่างละเอียดเกี่ยวกับ Business impact และค่าใช้จ่ายของโครงการ เพื่อให้เราเห็นภาพว่าในการลงทุนเพื่อสร้าง Big Data นั้นจะเป็นประโยชน์กับองค์กรหรือไม่ ซึ่งในการคิดเราอาจจะสามารถนำ Opportunity Cost หรือ ค่าเสียโอกาสมาคิดเพิ่มเติมได้ หากคู่แข่งสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีกว่าเรา เพราะอย่าลืมว่า
ในธุรกิจที่มีคนเท่ากัน องค์กรที่ชนะคือ องค์กรที่มีคนเก่งมากกว่า
ในธุรกิจที่มีคนเก่งเท่ากัน องค์กรที่ชนะคือ องค์กรที่มีเทคโนโลยีดีกว่า
ในธุรกิจที่เทคโนโลยีเท่ากัน องค์กรที่ชนะคือ องค์กรที่มีข้อมูลมากกว่า